เมนู

สาราณิยาทิวรรคที่ 2


1. ปฐมสาราณียสูตร


ว่าด้วยสาราณียธรรม 6 ประการ


[282] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาราณียธรรม 6 ประการนี้ 6 ประการ
เป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตา
ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง. แม้ข้อนี้ก็เป็นสาราณีย-
ธรรม.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้ไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อน
พรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้ข้อนี้ก็เป็นสาราณียธรรม.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อน
พรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้ข้อนี้ก็เป็นสาราณียธรรม.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุแบ่งปันลาภทั้งหลายที่ประกอบด้วยธรรมได้มา
โดยธรรม แม้โดยที่สุดบิณฑบาต ย่อมบริโภคร่วมกันกับเพื่อนพรหมจรรย์
ทั้งหลายผู้มีศีล แม้ข้อนี้ก็เป็นสาราณียธรรม.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นไปพร้อมเพื่อ
สมาธิ เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้ข้อนี้
ก็เป็นสาราณียธรรม.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีทิฏฐิอันเป็นอริยะ เป็นเครื่องนำออก นำ
ออกไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำตาม เสมอกันกับเพื่อนพรหม-
จรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้ข้อนี้ก็เป็นสาราณียธรรม ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย สาราณียธรรม 5 ประการนี้แล.
จบปฐมสาราณียสูตรที่ 1

สาราณิยาทิวรรคที่ 2


อรรถกถาปฐมสาราณียสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในปฐมสาราณียสูตรที่ 1 แห่งสาราณียาทิวรรค
ที่ 2
ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สาราณียา ได้แก่ ธรรมที่ควรให้ระลึกถึงกัน. บทว่า
เมตฺตํ กายกมฺมํ ได้แก่ กายกรรมที่พึงกระทำด้วยจิตประกอบด้วยเมตตา.
แม้ในวจีกรรม และมโนกรรมทั้งหลาย ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
ก็แลเมตตากายกรรมเป็นต้นเหล่านี้ ตรัสไว้ ด้วยสามารถแห่งภิกษุ-
ทั้งหลาย. แม้คฤหัสถ์ทั้งหลาย ก็นำไปใช้ได้. อธิบายว่า สำหรับภิกษุทั้งหลาย
การบำเพ็ญธรรม คือ อภิสมาจาริกวัตร ด้วยเมตตาจิตชื่อว่า เมตตากายกรรม.
สำหรับคฤหัสถ์ทั้งหลาย กรรมมีอาทิอย่างนี้ว่า การเดินทางไป เพื่อไหว้พระ-
เจดีย์ เพื่อไหว้โพธิพฤกษ์ เพื่อนิมนต์พระสงฆ์ การเห็นภิกษุทั้งหลาย ผู้เข้า
ไปสู่บ้าน เพื่อบิณฑบาต แล้วลุกขึ้นต้อนรับ การรับบาตร การปูลาดอาสนะ
และการตามส่ง ชื่อว่า เมตตากายกรรม.